
ประวัติของสถานศึกษา
วิทยาลัยการอาชีพสังขะ กรมอาชีวศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ เป็นวิทยาลัยการอาชีพระดับ
อำเภอ จัดตั้งขึ้นตามนโยบายของรัฐบาล โดยกระทรวงศึกษาธิการเห็นควรให้ขยายโอกาสทางการศึกษาด้าน
วิชาชีพให้กว้างขวางขึ้น เพื่อให้สอดคล้องกับความต้องการของประชาชนในชนบท และตรงกับความต้องการ
ของตลาดแรงงานในท้องถิ่น รวมทั้งทันต่อการพัฒนาทางเศรษฐกิจและสังคมในส่วนรวม ในการจัดการศึกษา
และฝึกอบรมวิชาชีพทุกระดับวิชาชีพที่ขาดแคลน ซึ่งเป็นความต้องการของท้องถิ่นและของประเทศ อันเป็น
การเสริมสร้างและพัฒนาคนของประเทศให้มีคุณภาพในการประกอบวิชาชีพและมีคุณภาพชีวิตที่ดียิ่งขึ้น
จากนโยบายดังกล่าว วิทยาลัยการอาชีพสังขะ ได้รับการประกาศจัดตั้ง
โดยฯพณฯ กำชัย เรืองกาญจนเศรษฐ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ปฏิบัติราชการแทน
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เมื่อวันที่ 30 พฤษภาคม 2538 โดยมี นายวโรภาส ศรีพันธุ์ ผู้ช่วย
ผู้อำนวยการวิทยาลัยเทคนิคร้อยเอ็ด เป็นผู้ประสานงานจัดตั้งวิทยาลัยการอาชีพสังขะ
การจัดการศึกษา
วิทยาลัยการอาชีพสังขะจัดการเรียนการสอนใน 2 ระดับ ดังนี้
1. ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ(ปวช.)
2. ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง(ปวส.)
และสถานศึกษามีครูที่มีคุณวุฒิการศึกษาและจำนวนตามเกณฑ์ที่กำหนดใช้หลักสูตรฐานสมรรถนะ
ในการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ และบริหารจัดการทรัพยากรของสถานศึกษามี
ประสิทธิภาพมีความสำเร็จในการดำเนินการตามนโยบายสำคัญของหน่วยงานต้นสังกัดหรือหน่วยงานที่กำกับ
ดูแลสถานศึกษาประกอบด้วยประเด็นการประเมิน ๔ ด้าน ดังนี้
1. ด้านหลักสูตรอาชีวศึกษา
สถานศึกษาใช้หลักสูตรฐานสมรรถนะที่สอดคล้องกับความต้องการของผู้เรียน ชุมชน สถาน
ประกอบการตลาดแรงงาน มีการปรับปรุงรายวิชาเดิม หรือกำหนดรายวิชาใหม่ หรือกลุ่มวิชาเพิ่มเติมให้ทันต่อ
การเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีและความต้องการของตลาดแรงงน โดยความร่วมมือกับสถานประกอบการ
หรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
2. ด้านการจัดการเรียนการสอนอาชีวศึกษา
สถานศึกษามีครูที่มีคุณวุฒิการศึกษาและมีจำนวนตามเกณฑ์ที่กำหนด ได้รับการพัฒนาอย่างเป็น
ระบบต่อเนื่องเพื่อเป็นผู้พร้อมทั้งด้านคุณธรรม จริยธรรมและความเข้มแข็งวิชาการและวิชาชีพ จัดการเรียน
การสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ตอบสนองความต้องการของผู้เรียนทั้งวัยเรียนและวัยทำงาน ตามหลักสูตร
มาตรฐานคุณวุฒิอาชีวศึกษาแต่ละระดับการศึกษา ตามระเบียบหรือบังคับเกี่ยวกับการจัดการศึกษาและการ
ประเมินผลการเรียนของแต่ละหลักสูตร ส่งเสริม สนับสนุน กำกับดูแลให้ครูจัดการเรียนการสอนรายวิชาให้
ถูกต้องครบถ้วน สมบูรณ์
3. ด้านการบริหารจัดการ
สถานศึกษาบริหารจัดการบุคลากร สภาพแวดล้อม ภูมิทัศน์ อาคารสถานที่ ห้องเรียน
ห้องปฏิบัติการโรงฝึกงานศูนย์วิทยบริการ สื่อ แหล่งเรียนรู้ เทคโนโลยีสารสนเทศ ครุภัณฑ์และงบประมาณ
ของสถานศึกษาที่มีอยู่อย่างเต็มศักยภาพและมีประสิทธิภาพ
4. ด้านการนำนโยบายสู่การปฏิบัติ
สถานศึกษามีความสำเร็จในการดำเนินการบริหารจัดการสถานศึกษา ตามนโยบายสำคัญที่
หน่วยงานต้นสังกัดหรือหน่วยงานที่กำกับดูแลสถานศึกษามอบหมาย โดยความร่วมมือของผู้บริหาร ครู
บุคลากรทางการศึกษาและผู้เรียนรวมทั้งการช่วยเหลือ ส่งเสริม สนับสนุนจากผู้ปกครอง ชุมชน สถาน
ประกอบการและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐและภาคเอกชน
สภาพชุมชน
สภาพชุมชน อำเภอสังขะยังไม่มีโรงงานอุตสาหกรรมใดเข้าไปทำธุรกิจจึงไม่มีปัญหาด้านมลพิษหรือ
ประสบปัญหาสภาพแวดล้อมมากนัก เพียงแต่อำเภอสังขะมีผู้คนอพยพเข้ามาหาที่ทำกินตั้งถิ่นฐานมากขึ้น การ
บุกรุกทำลายบำาจึงเกิดขึ้นทั่วทุกพื้นที่ป่าจึงเหลือเพียงบางแห่งที่มีเจ้าหน้าที่ดูแลรักษาอย่างต่อเนื่องเท่านั้น เช่น
ป่าดงคู ที่มีสนสามใบ เป็นต้น
สภาพสังคม
สภาพสังคม ประชากรส่วนใหญ่ของอำเภอสังขะ นับถือศาสนาพุทธ โดยกลุ่มคนดั้งเดิม มีสองกลุ่ม
ใหญ่ คือกลุ่มชนชาวส่วยและกลุ่มชนชาวเขมร ชุมชนชาวลาวเป็นชุมชนที่เข้ามาตั้งรกรากใหม่ แต่ทั้งสามกลุ่ม
ก็มีความผูกพันกันทางสังคม มีการผสมผสานกันอย่างกลมกลืน และมีความเป็นอยู่แบบเรียบง่าย เชื่อฟังและ
เคารพผู้นำของหมู่บ้าน จึงไม่พบปัญหาการใช้ภาษาที่ต่างกันแต่อย่างไร จะมีบ้างก็คือด้านประเพณี วัฒนธรรม
และชีวิตความเป็นอยู่ที่แตกต่างกันไปตามชาติกำเนิด ซึ่งสืบเนื่องมาจากประเพณีท้องถิ่นที่มีมาแต่บรรพบุรุษที่
แตกต่างกัน
สภาพเศรษฐกิจ
สภาพเศรษฐกิจ ของชุมชนในเขตบริการของวิทยาลัยการอาชีพสังขะ ผู้ปกครองของนักเรียน
นักศึกษาส่วนใหญ่ยากจน รายได้อยู่ในเกณฑ์ต่ำไม่สามารถส่งบุตรหลานเข้าศึกษาต่อที่อยู่ในเมืองหรือ
ต่างจังหวัดได้ นักเรียนนักศึกษาที่เข้ามาศึกษาในวิทยาลัยฯ มักจะมีปัญหาเรื่องการเงิน ดังจะเห็นได้จากการ
แสดงความจำนงขอกู้เงินกองทุนกู้ยืมเพื่อการศึกษา(กยศ.)จำนวนมาก
ภาษา / วัฒนธรรม
ประชากรดั้งเดิมอำเภอสังขะ มีชนกลุ่มใหญ่อยู่สองกลุ่ม คือ กลุ่มชนชาวกวย และกลุ่มชนชาวเขมร
ส่วนชุมชนลาวจะเป็นชุมชนเข้ามาตั้งรกรากใหม่ หมู่บ้านที่เกิดขึ้นใหมไม่เกิน 60 ปี จะประกอบไปด้วยชุมชน
ชาวลาว กวย และเขมรรวมกัน ประชากรทั้งสามกลุ่มจะผูกพันกันทางสังคม โดยต่างเป็นส่วนหนึ่งของสังคม
และผูกพันกัน ประสานความเป็นพี่น้องกันอย่างแนบแน่นด้วยการเกี่ยวพันธ์กันในการทางแต่งงาน จึงมีการ
ผสมผสานกันอย่างกลมกลืน ประชากรส่วนใหญ่ใช้ภาษากวย ภาษาลาว ภาษาเขมร ในการสื่อสาร